วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

                                        ใบงานที่ 2 รูปแบบขององค์กรธุรกิจ

1. การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียวหมายถึ
       การประกอบธุรกิจที่ดำเนินงานโดยบุคคลเพียงคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ  มีวิธีการดำเนินงานง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก  เงินลงทุนมาจากการเก็บออม  ตัดสินใจได้รวดเร็ว  รับผิดชอบในทรัพย์สินและหนี้สินที่เกิดจากธุรกิจ  การบริหารจัดการต่าง ๆ มีความคล่องตัว  เมื่อกิจการประสบความสำเร็จ  เจ้าของกิจการจะได้รับประโยชน์แต่เพียงผู้เดียว มีกฎหมายเกี่ยวข้องไม่มากนักจึงเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งขันจำนวนมาก  ซึ่งพบเห็นกันทั่วไป  เช่น  ร้านขายอาหาร  ร้านขายของชำ  ร้านเสริมสวย  ร้านถ่ายรูป  ร้านขายเสื้อผ้า  เป็นต้น

2. ห้างหุ่นส่วน หมายถึง
     องค์การธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินการ และจะแบ่งกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยมี 2 ชนิด คือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (หสน.) และห้างหุ้นส่วนจำกัด (หจก.)

3. รัฐวิสาหกิจ หมายถึง
     องค์การของรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของหรือบริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานธุรกิจของรัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 มีการบริหารงานอยู่ระหว่าง
ระบบราชการและระบบธุรกิจ


4. แฟรนไชส์ หมายถึง
    วิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจ โดยผ่านผู้ประกอบการอิสระที่เรียกว่า แฟรนไชส์ซี ส่วนทางบริษัทให้สิทธิเครื่องหมายการค้า ซึ่งถ้ายังไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิถือว่าไม่ถูกต้อง ต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพราะถ้าไม่มีเครื่องหมายการค้าจะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญหรือ Know How อาจจะเป็นวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอด ให้แฟรนไชส์ซีในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

5. การร่วมค้า หมายถึง
    การร่วมธุรกิจของธุรกิจหรือบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำสัญญาที่จะร่วมทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน ทรัพย์สิน ที่ดิน อาคาร การผลิต เทคโนโลยี บุคลากร หรืออื่นๆภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้า โดยมีการกำหนดวัตุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน เช่น การผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือดำเนินโครงการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้น สิทธิความเป็นเจ้าของ หน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ รวมถึงการแบ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน หรือหากเกิดผลกำไรก็จะจัดสรรผลโยชน์ตามสัดส่วนของการลงทุน โดยในการร่วมค้านั้นจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล

6. สหกรณ์ หมายถึง  "สหกรณ์ คือ องค์การปกครองตนเองของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันโดยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน แ ละควบคุมตามหลักประชาธิปไตย
                                           ใบงานที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจ

1. ธุรกิจ หมายถึง 
   กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน และมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น
ความสำคัญของธุรกิจ

2. จุดมุ่งหมายของการประกอบธุรกิจ
    1.สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการ
    2.สร้างแนวทางในการหารายได้ใหม่ ๆ
    3.สนองตอบความต้องการขององค์กร
    4.สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร
    5.สร้างรูปแบบใหม่ในการดำเนินธุรกิจขององค์กร
    6.สร้างความสามารถในการแข่งขันด้วย ITG

3. ปัจจัยในการประกอบะธุรกิจที่สำคัญได้แก่อะำรบ้าง
     - ทุน
     - ความรู้
     - การตลาด
     - การจัดการ

4. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่อะไรบ้าง
     1. ปัจจัยแวดล้อมที่ควบคุมได้  หมายถึง สภาพแวดล้อมภายในทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ
     2.  ปัจจัยแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้   หมายถึง  สภาพแวดล้อมภายนอกกิจการที่ผู้ประกอบการ

5. การบริการหมายถึง
      กิจกรรมหรือกระบวนการในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งของบุคคลหรือองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นให้ได้รับความสุข และความสะดวกสบายหรือเกิดความพึงพอใจจากผลของการกระทำนั้น  โดยมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง 

6. กำไรหมายถึง
       กำไร คือหัวใจของผู้ทำธุรกิจ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะเป็นธุรกิจรายใหญ่หรือรายย่อย เพราะกำไร หมายถึงผลที่ได้เหนือต้นทุน

7. การส่งเสริมการขายหมายถึง
    เป็นการกระตุ้นยอดขายของกิจการ และ การแนะนำสินค้าสู่ลูกค้า ทั้งนี้ยังสืบเนื่องกับ ความพึงพอใจที่ดีของลูกค้า ในการบริโภคหรืออุปโภคสินค้า เพื่อการสร้างเครือข่ายความเป็นไปได้ ในการเลือกบริโภคหรืออุปโภคสินค้านั้นๆ อย่างต่อเนื่อง

8. เศรษฐกิจ หมายถึง
        เศรษฐกิจคือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่างจากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้า

9. ผู้ประกอบการหมายถึง
     คือบุคคลที่จัดตั้งธุรกิจใหม่ โดยเผชิญกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทางธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไรและความเติบโต มุ่งหาความต้องการของตลาดเพื่อสนองความต้องกา
 
10. คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่สำคัญประกอบด้วย
1. กระหายสู่ความสำเร็จ (Need for Achievement)
2. มีลักษณะนิสัยชอบเสี่ยง (Risk  Taking)
3. คิดอย่างสร้างสรรค์ และ สร้างฝันให้ยิ่งใหญ่ (To Walk again)
4. ยึดมั่นไม่ย่อท้อ
5. เชื่อมั่นในตนเอง
6. มีความสามารถในการตัดสินใจ
7. กล้าเปลี่ยนแปลงถือเป็นโอกาส
8. อดทนต่อความไม่แน่นอน
9. มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า
10. คุณค่าของเวลามีความสำคัญ